ผ้าเบรกจีนคุณภาพต่ำบุกไทย ไร้มาตรฐานคุม-หวั่นอันตราย
นาย พัฒนะ อิสระพิทักษ์กุล ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการสายงานพัฒนาธุรกิจและภาพลักษณ์ บริษัท คอมแพ็คอินเตอร์เนชั่นแนล (1994) จำกัด เปิดเผยว่า ตลาดผ้าเบรกเมืองไทยในปัจจุบันแข่งขันอย่างรุนแรง ผู้ประกอบการหลายรายไม่มีโรงงานผลิตเป็นของตนเอง เพียงเช่าห้องแถวเล็กๆ 1 ห้อง แล้วนำผ้าเบรกคุณภาพต่ำราคาถูกจากจีนส่งไปขายตามร้านอะไหล่ หลายรายขาดความรับผิดชอบ กว้านซื้อโครงเหล็กผ้าเบรกเก่าแล้วนำเนื้อเบรกจากจีนมาติดกาวปะบนโครงเหล็ก เดิมส่งจำหน่าย ขณะที่ภาครัฐไม่มีมาตรการควบคุมดีเท่าที่ควร เนื่องจากไม่มีข้อกำหนดมาตรฐานผ้าเบรกว่ามีคุณภาพหรือไม่ แต่ยึดมาตรฐานอุตสาหกรรม หรือ มอก.ใช้มาหลาย 10 ปี ไม่ทันกับยุคสมัย เพราะสมรรถนะเครื่องยนต์ก้าวล้ำกว่า มอก.
นายพัฒนะกล่าวว่า ในสหรัฐอเมริกามีสมาคมที่กำหนดมาตรฐานของผ้าเบรกโดยเฉพาะ หลายชาติทั่วโลกให้การยอมรับ สำหรับคอมแพ็คเมื่อส่งสินค้าไปจำหน่ายต่างประเทศต้องถูกตรวจสอบอย่างเข้มข้น ดังนั้น หากมีการแข่งขันกับผู้ที่มีมาตรฐานถูกต้อง บริษัทยอมรับได้ แต่ถ้าแข่งกับผู้ผลิตที่ไร้ความรับผิดชอบย่อมเสียเปรียบแน่นอน ที่ผ่านมาสมาคมผู้ประกอบการผ้าเบรกและบริษัทพยายามผลักดันมาโดยตลอด แต่ภาครัฐไม่ได้ให้ความใส่ใจอย่างจริงจัง
"ในเมืองไทยมีคอมแพ็ค ยี่ห้อเดียวทำประกันภัยคุ้มครองผู้บริโภค หากสินค้าของบริษัทก่อให้เกิดอุบัติเหตุ มีประกันจ่ายสูงสุด 10 ล้านบาทต่อครั้งต่อคัน เนื่องจากเรามีเครื่องทดสอบสามารถพิสูจน์ได้ว่าอุบัติเหตุนั้นเกิดจาก ผลิตภัณฑ์เราจริงหรือไม่ การแข่งขันที่รุนแรงยังไม่หนักหนาเท่ากับการไม่มีมาตรการควบคุมคุณภาพที่ดี การปล่อยให้สินค้าไร้คุณภาพมาจำหน่ายให้กับผู้บริโภค นอกจากมีผลกระทบด้านความปลอดภัยกับผู้ใช้รถยนต์อาจเกิดอันตราย เห็นได้จากข่าวรถเบรกแตกบ่อยครั้ง ยังเป็นการทำลายตลาดอีกด้วย"
นาย พัฒนะกล่าวว่า นอกจากนี้ยังมีกรณีการยกเลิกการใช้แร่ใยหิน คอมแพ็คพูดก่อนใครเมื่อ 8 ปีที่แล้ว มาวันนี้ยังไม่มีการดำเนินการจริงจัง ทั้งที่ในปีนี้ภาครัฐจะยกเลิกการใช้ใยหิน ล่าสุด ยังมีความพยายามขอยืดเวลายกเลิกการใช้ใยหินที่ใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตผ้า เบรกออกไปอีก 5 ปี
นายพัฒนะกล่าวว่า สำหรับยอดขายจองคอมแพ็คปีที่แล้วทำได้กว่า 700 ล้านบาท คาดปีนี้จะเติบโตเพิ่มขึ้น 10-20% หรือกว่า 800 ล้านบาท โดย 9 เดือนที่ผ่านมา (มกราคม-กันยายน) คอมแพ็คมียอดขายกว่า 700 ล้านบาท และมีภาคขนส่งมวลชนเป็นตลาดใหญ่ โดยเฉพาะรถตู้ คอมมิวเตอร์รุ่นเดียว มียอดขายกว่า 300,000 ชุด คอมแพ็คมีส่วนแบ่งตลาด 32% หรือกว่า 100,000 ชุด ล่าสุด บริษัทกระตุ้นตลาดด้วยการเข้าร่วมงานบัสแอนด์ทรัค 2012 จัดขึ้นวันที่ 1-3 พฤศจิกายนนี้ ณ ไบเทค บางนา พร้อมโชว์เทคโนโลยีผ้าเบรกเพื่อรถบรรทุกและรถบัสโดยสารขนาดใหญ่
ที่มา นสพ.มติชน
นาย พัฒนะ อิสระพิทักษ์กุล ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการสายงานพัฒนาธุรกิจและภาพลักษณ์ บริษัท คอมแพ็คอินเตอร์เนชั่นแนล (1994) จำกัด เปิดเผยว่า ตลาดผ้าเบรกเมืองไทยในปัจจุบันแข่งขันอย่างรุนแรง ผู้ประกอบการหลายรายไม่มีโรงงานผลิตเป็นของตนเอง เพียงเช่าห้องแถวเล็กๆ 1 ห้อง แล้วนำผ้าเบรกคุณภาพต่ำราคาถูกจากจีนส่งไปขายตามร้านอะไหล่ หลายรายขาดความรับผิดชอบ กว้านซื้อโครงเหล็กผ้าเบรกเก่าแล้วนำเนื้อเบรกจากจีนมาติดกาวปะบนโครงเหล็ก เดิมส่งจำหน่าย ขณะที่ภาครัฐไม่มีมาตรการควบคุมดีเท่าที่ควร เนื่องจากไม่มีข้อกำหนดมาตรฐานผ้าเบรกว่ามีคุณภาพหรือไม่ แต่ยึดมาตรฐานอุตสาหกรรม หรือ มอก.ใช้มาหลาย 10 ปี ไม่ทันกับยุคสมัย เพราะสมรรถนะเครื่องยนต์ก้าวล้ำกว่า มอก.
นายพัฒนะกล่าวว่า ในสหรัฐอเมริกามีสมาคมที่กำหนดมาตรฐานของผ้าเบรกโดยเฉพาะ หลายชาติทั่วโลกให้การยอมรับ สำหรับคอมแพ็คเมื่อส่งสินค้าไปจำหน่ายต่างประเทศต้องถูกตรวจสอบอย่างเข้มข้น ดังนั้น หากมีการแข่งขันกับผู้ที่มีมาตรฐานถูกต้อง บริษัทยอมรับได้ แต่ถ้าแข่งกับผู้ผลิตที่ไร้ความรับผิดชอบย่อมเสียเปรียบแน่นอน ที่ผ่านมาสมาคมผู้ประกอบการผ้าเบรกและบริษัทพยายามผลักดันมาโดยตลอด แต่ภาครัฐไม่ได้ให้ความใส่ใจอย่างจริงจัง
"ในเมืองไทยมีคอมแพ็ค ยี่ห้อเดียวทำประกันภัยคุ้มครองผู้บริโภค หากสินค้าของบริษัทก่อให้เกิดอุบัติเหตุ มีประกันจ่ายสูงสุด 10 ล้านบาทต่อครั้งต่อคัน เนื่องจากเรามีเครื่องทดสอบสามารถพิสูจน์ได้ว่าอุบัติเหตุนั้นเกิดจาก ผลิตภัณฑ์เราจริงหรือไม่ การแข่งขันที่รุนแรงยังไม่หนักหนาเท่ากับการไม่มีมาตรการควบคุมคุณภาพที่ดี การปล่อยให้สินค้าไร้คุณภาพมาจำหน่ายให้กับผู้บริโภค นอกจากมีผลกระทบด้านความปลอดภัยกับผู้ใช้รถยนต์อาจเกิดอันตราย เห็นได้จากข่าวรถเบรกแตกบ่อยครั้ง ยังเป็นการทำลายตลาดอีกด้วย"
นาย พัฒนะกล่าวว่า นอกจากนี้ยังมีกรณีการยกเลิกการใช้แร่ใยหิน คอมแพ็คพูดก่อนใครเมื่อ 8 ปีที่แล้ว มาวันนี้ยังไม่มีการดำเนินการจริงจัง ทั้งที่ในปีนี้ภาครัฐจะยกเลิกการใช้ใยหิน ล่าสุด ยังมีความพยายามขอยืดเวลายกเลิกการใช้ใยหินที่ใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตผ้า เบรกออกไปอีก 5 ปี
นายพัฒนะกล่าวว่า สำหรับยอดขายจองคอมแพ็คปีที่แล้วทำได้กว่า 700 ล้านบาท คาดปีนี้จะเติบโตเพิ่มขึ้น 10-20% หรือกว่า 800 ล้านบาท โดย 9 เดือนที่ผ่านมา (มกราคม-กันยายน) คอมแพ็คมียอดขายกว่า 700 ล้านบาท และมีภาคขนส่งมวลชนเป็นตลาดใหญ่ โดยเฉพาะรถตู้ คอมมิวเตอร์รุ่นเดียว มียอดขายกว่า 300,000 ชุด คอมแพ็คมีส่วนแบ่งตลาด 32% หรือกว่า 100,000 ชุด ล่าสุด บริษัทกระตุ้นตลาดด้วยการเข้าร่วมงานบัสแอนด์ทรัค 2012 จัดขึ้นวันที่ 1-3 พฤศจิกายนนี้ ณ ไบเทค บางนา พร้อมโชว์เทคโนโลยีผ้าเบรกเพื่อรถบรรทุกและรถบัสโดยสารขนาดใหญ่
ที่มา นสพ.มติชน
ความคิดเห็น